ความหมายของธุรกิจ
“ธุรกิจ” หมายถึงกิจกรรมต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ
โดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้น ๆ
มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค
ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ
และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม
คำว่านิติกรรม คือ
ตาม ปพพ. ให้คำนิยามว่า นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ
อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์
สรุป คือการกระทำอันชอบด้วยกฎหมายของบุคคล
โดยมุ่งที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ
หรือการเคลื่อนไหวในสิทธิอันได้แก่ การก่อการเปลี่ยนแปลง การโอน การสงวน
หรือการรับซึ่งสิทธิต่าง ๆ
สัญญา คืออะไร
สัญญา
เป็นนิติกรรมสองฝ่ายที่เกิดขึ้นจากการแสดงเจตนาของบุคคลแต่ละฝ่าย
โดยมีความประสงค์ตกลงกันและร่วมใจกันในอันที่จะก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์อย่าง ใด
อย่างหนึ่งขึ้น
สัญญาเกิดขึ้นอย่างไร
เกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปโดยฝ่ายหนึ่งทำ
คำเสนอ อีกฝ่ายหนึ่ง ทำคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองมีข้อความถูกต้องสอดคล้องกัน
สัญญาจึงจะเกิดขึ้นและก่อหนี้ผูกพันคู่สัญญาทุกฝ่ายต้องให้ปฏิบัติตามสิทธิ
และหน้าที่อันเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายที่เกิดขึ้น
การเกิดสัญญาต้องประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ
1. ต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองฝ่ายคือฝ่ายผู้เสนอและฝ่ายผู้สนอง
2. ต้องมีการแสดงเจตนาต่อกันและกันทั้งฝ่ายผู้เสนอและฝ่ายผู้สนอง
3. ต้องมีการแสดงเจตนา ที่สอดคล้องต้องตรงกัน
สาระสำคัญของสัญญา
1. ต้องมีบุคคลเป็นคู่สัญญาสองฝ่าย เช่น สัญญาซื้อขาย
ต้องมีผู้ขายและผู้ซื้อ
2. ต้องมีการแสดง เจตนารมณ์ คือมีคำเสนอและมีคำสนองตรงกัน
ประเภทของสัญญา
1. สัญญาต่างตอบแทน
2. สัญญาไม่ต่างตอบแทน
สัญญาต่างตอบแทน คือ นิติกรรม 2 ฝ่าย
ซึ่งต่างฝ่าย
ต่างมีประโยชน์ตอบแทนกันโดยค่าตอบแทนนี้อาจเป็นประโยชน์หรือทรัพย์สินหรือ
การชำระหนี้ตอบแทนก็ได้ เช่น สัญญาซื้อขาย
ตัวอย่างสัญญาต่างตอบแทน
สัญญาซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกผู้ขาย
โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ
และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย
2. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
สัญญาเช่าทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า
ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า
ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งระยะเวลาอันจำกัด
และผู้เช่าตกลงจะให้ค้าเช่าเพื่อการนั้น
สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น
หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า
โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
สัญญากู้ยืมเงิน คือ
สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมี
กำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด
และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
และสัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป
ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
การใช้เงินคืน
ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือ
เอกสารที่เป็นหลักฐานการกู้ยืมได้เวนคืนให้แก่ผู้ยืมได้แทงเพิกถอนลงใน เอกสาร
สัญญาค้ำประกัน คือ
สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คน หนึ่ง
เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ นั้นสัญญาค้ำประกันนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ
จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
สัญญาจำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า
ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง
เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง
สัญญาจำนำ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า
ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้
ความไม่สมบูรณ์ของสัญญาที่เกิดขึ้น
มีผลทางกฎหมายให้สัญญาเป็นโมฆะ
2. มีผลทางกฎหมายให้สัญญาเป็นโมฆียะ
สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมหรือสัญญาเป็นโมฆะ
1. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. แบบแห่งนิติกรรมหรือสัญญา
2.1 ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจำนอง เป็นต้น
2.2 ต้องทำเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
2.3 ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การสมรส
การจดทะเบียนรับบุตรนอกสมรส การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
2.4 ต้องทำเป็นหนังสือโดยไม่ต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น
ทำสัญญาเช่าซื้อสัญญาก่อนสมรส
3. การแสดงเจตนา ได้แก่
3.1 การแสดงเจตนาลวงของคู่สัญญา
3.2 สัญญาที่ทำโดยการอำพราง
สาเหตุที่ทำให้สัญญาตกเป็นโมฆียะ
1. ความสามารถของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถในการทำสัญญา
ได้แก่
1.1 ผู้เยาว์
1.2 คนไร้ความสามารถ
1.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ
2. การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล
3. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
หลักทั่วไปของการเลิกสัญญา
1. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลย
2. ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้าล่วงเลยเวลาที่กำหนดไป
3. ลูกหนี้ชำระหนี้ผิดความประสงค์แห่งหนี้ที่ตกลงไว้
กฎหมายเอกเทศสัญญา
ซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ขาย” โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สิน
ให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า”ผู้ซื้อ”โดยผู้ซื้อได้ใช้ราคาทรัพย์นั้น เป็นเงินให้แก่ผู้ขายเป็น การตอบแทน
ลักษณะของสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย เป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง หมายถึง
นิติกรรมสัญญาที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะกำหนดรูปแบบ สาระสำคัญ
กำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างคู่กรณี และ การระงับ แห่งสัญญา กฎหมายให้เสรีภาพแก่ประชาชนแต่ละคนที่จะเข้าทำนิติกรรมสัญญาใดๆ
ก็ได้ภายใต้ การคุ้มครองของกฎหมายหลักในบรรพ 1-2 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และ นิติกรรม สัญญานั้นย่อมสมบูรณ์มีผล
ใช้บังคับได้หาก ไม่ขัดบทบัญญัติ แห่งกฎหมาย เช่น กรณีเจ้าของที่ดิน
สองคนซึ่งมีที่ดินติดต่อกัน ต่างคนทำสัญญาไว้ต่อกันว่าจะสร้างบ้านอยู่อาศัยในที่ดินจะไม่สร้าง
โรงงาน หรือ โรงแรมให้เป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่อีกฝ่ายหนึ่ง
ดังนี้ย่อมเกิดเป็นสัญญา อย่างหนึ่งและ มีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายสัญญาซื้อขาย
เป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งซึ่งมีคู่กรณี ที่เกี่ยวข้องสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ขาย และ ฝ่ายผู้ซื้อ โดยที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรม
สิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อ
ขาย ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ขาย
ลักษณะของสัญญาซื้อขายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติเรื่องสัญญา
ซื้อขายไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1 เริ่มตั้งแต่มาตรา 453 ถึง มาตรา 517 ซึ่งครอบคลุมถึงสัญญาซื้อขายธรรมดาและ
สัญญาซื้อขาย เฉพาะบางอย่าง ซึ่งได้แก่ สัญญาขายฝาก
สัญญาขายตามตัวอย่างขายตามคำพรรณนาขาย เผื่อชอบ และขายทอดตลาดมาตรา 453
“อันว่าซื้อขายนั้น คือสัญญา ซึ่ง บุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย
โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และ ผู้ซื้อตกลงว่า
ใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”มีลักษณะสำคัญดังนี้
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ซึ่งมีคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสองฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่ง
ที่เรียกว่า “ผู้ขาย” และอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้ซื้อ” มาตกลงทำสัญญากัน
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อในสัญญาซื้อขายนั้นผู้ขายมีหน้าที่ผูกพันตนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกัน
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ฝ่ายผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย
คำว่า “ราคา” ในที่นี้คงหมายถึง
เงินตราที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็นเงินของไทยหรือเงินสกุลอื่นได้
เพราะสามารถแลกเปลี่ยน ตามอัตรา ที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายวัน
คำว่า “ตกลงจะใช้ราคา” ย่อมหมายความว่า
ในการทำสัญญาซื้อขายกันนั้น เมื่อผู้ซื้อ และ ผู้ขายตกลงเพียงว่า “จะ” ใช้ราคาทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายก็เกิดขึ้นแล้ว แม้จะยังไม่ได้
กำหนดราคาเป็นที่แน่นอนก็ตาม และ ย่อมมีผลผูกพันกันตามกฎหมายที่จะเรียกร้อง
ให้ชำระราคา กันในเวลาใดเวลาหนึ่งก็ได้
ลักษณะของสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง
ดังนั้นจึงต้องมีคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกันสัญญาจะซื้อขายจึงจะเกิดขึ้นและมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
สัญญาจะซื้อขายต่างจากคำมั่นจะซื้อหรือจะขายตรงที่คำมั่นจะซื้อหรือจะขายเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวมีผลผูกพันเฉพาะฝ่ายให้คำมั่นเท่านั้น
แต่สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมสองฝ่ายเพราะเป็นสัญญาและผีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาซึ่งคู่กรณีมีข้อตกลงว่าจะไปทำสัญญาซื้อขายให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไป
สัญญาจะซื้อขายจึงมีได้แต่เฉพาะทรัพย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคแรก คืออสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษได้แก่
เรือกำปั่นหรือเรือมีระวางหกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวางห้าตันขึ้นไป
แพและสัตว์พาหนะ
เพราะทรัพย์เหล่านี้กรรมสิทธิ์จะโอนไปต่อเมื่อได้ไปทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การทำความตกลงซื้อขายกันเองสำหรับทรัพย์ดังกล่าวจึงไม่อาจเป็นสัญญาซื้อขายที่เสร็จสมบูรณ์ได้
จะเป็นไปได้เพียงสัญญาจะไปทำสัญญาซื้อขายให้เสร็จสมบูรณ์โดยการไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง
ซึ่งก็คือสัญญาจะซื้อขายนั่นเอง
ส่วนทรัพย์อื่นๆ คือทรัพย์นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคแรก คู่กรณีอาจตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันได้เอง
เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามแบบคือทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ
พนักงานเจ้าหน้าที่
ดังนั้นจึงไม่เปิดช่องให้ทำสัญญาจะซื้อขายหรือมีข้อตกลงว่าจะไปทำสัญญาซื้อ
ขายในภายหลังได้และถึงแม้คู่กรณีจะมีข้อตกลงหน่วงเหนี่ยวกรรมสิทธิ์โดย
เงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาอย่างไรก็เป็นสัญญาที่มีผลผูกพันอยู่ในตัว
กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปตามเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้นเองโดยไม่ต้องไปตกลงทำ
สัญญากันใหม่
ดังนั้นจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาแต่ไม่
ใช่สัญญาจะซื้อขาย
การเปรียบเทียบชนิดของสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ
สัญญาซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ
สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันทีอย่างเด็ดขาด
เมื่อการซื้อขายสำเร็จ บริบูรณ์ การซื้อขายสำเร็จบริบูรณ์เมื่อใดนั้น
นอกจากการตกลงแล้ว ต้องทำตามแบบที่ กฎหมายกำหนดอีกด้วย
สัญญาจะซื้อจะขาย คือ
สัญญาที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อ ใน ขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกัน
แต่เป็นสัญญาซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ ในเวลาภายหน้า
เป็นการแลกเปลี่ยนกับเงินอันเป็นราคาของทรัพย์สินนั้น มีผลผูกพันให้แก่คู่ สัญญาต้องทำการซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป
ข้อสังเกต
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงในสาระสำคัญดังนี้
1. มีข้อตกลงซื้อขายทรัพย์สินที่แน่นอน
โดยผู้ขายตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย
2. เป็นข้อตกลงซื้อขายทรัพย์ประเภทที่จะต้องไปทำตามแบบเพื่อให้กรรมสิทธิ์
แห่งทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่ระบุไว้ในมาตรา 456 วรรคแรก
มีข้อตกลงว่า
ผู้ขายจะไปดำเนินการตามแบบเพื่อให้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นโอนไปยังผู้ซื้อในภายหลัง
ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงยังมิได้โอนไปยังผู้ซื้อในขณะทำสัญญา
สัญญาซื้อขายกับสัญญาแลกเปลี่ยน
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาแลกเปลี่ยน
สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาแลกเปลี่ยนในสะระสำคัญ คือ
สัญญาซื้อขายนั้นเป็นสัญญา
ที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้ผู้ซื้อแลกกับเงินที่เป็นราคาของทรัพย์สินตามที่ตกลงกัน
แต่ในสัญญาแลกเปลี่ยนคู่กรณีในสัญญาต่างฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของแต่ละฝ่ายให้แก่กัน
ตัวอย่าง เช่น เขียวตกลงกับเหลืองแลกแหวนทองของตนกับนาฬิกาของเหลือง
ย่อมเป็นเรื่องที่เอาทรัพย์สินเข้าแลกกัน โดยไม่มีเงินสื่อกลาง จึงเป็นสัญญาแลกเปลี่ยน
มิใช่สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายกับสัญญาให้
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาให้
สัญญาซื้อขายแตกต่างจากสัญญาให้ในสาระสำคัญคือ
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทนกับการที่ผู้ซื้อชำระราคา
แต่สัญญาให้เป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน
ผู้ให้เป็นฝ่ายที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นให้โดยเสน่หา
ตัวอย่างเช่นสมบัติยกแหวนเพชรให้แก่จารุณีบุตรสาวคนเดียว
ย่อมเป็นเรื่องที่จารุณีไม่มีความผูกพันที่จะต้องกระทำการใดๆเป็นการตอบแทนนอกจากยอมรับทรัพย์สินที่ให้นั้นแต่อย่างเดียว
หากเป็นเรื่องการซื้อขายฝ่ายผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต้องชำระราคาเป็นการตอบแทน
สัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าทรัพย์
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าทรัพย์
สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาเช่าทรัพย์ในสาระสำคัญคือ
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ
แต่สัญญาเช่าทรัพย์คือ สัญญาที่ไม่มีการโอนกรรม สิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า
เพราะผู้ให้เช่าเพียงให้ผู้เช่าได้ใช้สอยหรือได้รับประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะ
เวลาหนึ่ง แต่ผู้เช่าชำระค่าเช่าเป็นการตอบแทนการใช้ทรัพย์สินนั้น ตัวอย่าง
ดำตกลงให้แดงเช่าตึกแถวเป็นเวลา 3 ปี
ชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน เดือนละ 2,500 บาท
ดำส่งมอบตึกแถวให้ครอบครองเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยหรือทำสำนักงานชั่วระยะเวลา 3 ปีตามที่ตกลงให้เช่า แต่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในตึกแถวไปให้แดง
เพราะสัญญาเช่าทรัพย์นั้นไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เหมือนดังเช่นสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าซื้อ
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายนั้น
ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อเป็นการแน่นอน
แต่สัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นเรื่องเช่า
โดยให้คำมั่นว่าจะขายหรือจะให้ทรัพย์สินตกเป็นสิทธิแก่ผู้ให้เช่า
เมื่อผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราวตามแต่จะตกลงกัน
ตัวอย่างเช่น บริษัทกรุงเทพรถยนต์ จำกัด
ขายรถยนต์ให้อาทิตย์ย่อมเป็นเรื่องสัญญาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่อาทิตย์ผู้ซื้อทันที
ที่สัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่บริษัทฯ ให้อังคารเช่าซื้อรถยนต์
ย่อมจะยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ จนกว่าจะมีการชำระเงินค่าเช่าจนครบตามจำนวนงวดที่ตกลงกัน
ให้ผู้เช่าจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อกันนั้นให้แก่ผู้เช่า
สัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญาจ้างทำของ
สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญาจ้างทำของในสาระสำคัญคือ สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ
แต่สัญญาจะจ้างทำของเป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างตกลงทำการงานนั้นจนเป็นผลสำเร็จ
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราซื้อเสื้อผ้าที่ตัดไว้สำเร็จรูปย่อมเป็นเรื่องซื้อขาย แต่ถ้า
ซื้อผ้าไปจ้างช่างตัดเสื้อให้ ย่อมเป็นเรื่องจ้างทำของ
สัญญาซื้อขายกับสัญญากู้ยืม
ความแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายกับสัญญากู้ยืม
สัญญาซื้อขายแตกต่างกับสัญญากู้ยืมในสาระสำคัญคือ
สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรทมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ
และผู้ซื้อต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขาย แต่สัญญากู้ยืมนั้นผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในเงินที่กู้ยืมกันนั้นให้แก่ผู้ยืม
โดยผู้ยืมจะตอบแทนการให้ยืมเงินเป็นดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้
อันที่จริงแล้วสัญญาทั้งสองชนิดแตกต่างกัน แต่บางครั้งอาจคล้ายกัน
ถ้ามีข้อสัญญาให้โอนทรัพย์สินที่เป็นประกันการกู้ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม หากผู้ยืมไม่ชำระหนี้ที่ยืมไป
แหล่งที่มา
1. ต้องมีบุคคลอย่างน้อยสองฝ่ายคือฝ่ายผู้เสนอและฝ่ายผู้สนอง
2. ต้องมีการแสดงเจตนาต่อกันและกันทั้งฝ่ายผู้เสนอและฝ่ายผู้สนอง
3. ต้องมีการแสดงเจตนา ที่สอดคล้องต้องตรงกัน
1. ต้องมีบุคคลเป็นคู่สัญญาสองฝ่าย เช่น สัญญาซื้อขาย ต้องมีผู้ขายและผู้ซื้อ
2. ต้องมีการแสดง เจตนารมณ์ คือมีคำเสนอและมีคำสนองตรงกัน
ประเภทของสัญญา
1. สัญญาต่างตอบแทน
2. สัญญาไม่ต่างตอบแทน
ตัวอย่างสัญญาต่างตอบแทน
2. สัญญาขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน
2. มีผลทางกฎหมายให้สัญญาเป็นโมฆียะ
สาเหตุที่ทำให้นิติกรรมหรือสัญญาเป็นโมฆะ
1. ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. แบบแห่งนิติกรรมหรือสัญญา
2.1 ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ การจำนอง เป็นต้น
2.3 ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การสมรส การจดทะเบียนรับบุตรนอกสมรส การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
2.4 ต้องทำเป็นหนังสือโดยไม่ต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ทำสัญญาเช่าซื้อสัญญาก่อนสมรส
3. การแสดงเจตนา ได้แก่
3.1 การแสดงเจตนาลวงของคู่สัญญา
3.2 สัญญาที่ทำโดยการอำพราง
1. ความสามารถของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถในการทำสัญญา ได้แก่
1.1 ผู้เยาว์
1.2 คนไร้ความสามารถ
1.3 คนเสมือนไร้ความสามารถ
2. การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉล
3. การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่
หลักทั่วไปของการเลิกสัญญา
1. ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เลย
2. ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้าล่วงเลยเวลาที่กำหนดไป
3. ลูกหนี้ชำระหนี้ผิดความประสงค์แห่งหนี้ที่ตกลงไว้
ขาย ให้แก่ผู้ซื้อแต่ผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์นั้นให้แก่ผู้ขาย
ที่เรียกว่า “ผู้ขาย” และอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า “ผู้ซื้อ” มาตกลงทำสัญญากัน
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น