บทที่ 13 กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา
เป็นสิทธิทางกฎหมายที่มีอยู่เหนือสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์
โดยอาจแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้หลายประเภท คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นแยกจากกรรมสิทธิ์ในสื่อแห่งผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้
สิทธิบัตรในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมือ ดังนั้น
เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงลิขสิทธิ์
หรือผู้ทรงสิทธิบัตรนั้น เช่น เจ้าของหนังสือไม่สามารถทำซ้ำหนังสือ
โดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์
เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิแต่เพียง ผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางอุตสาหกรรม
ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่
หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของ
ตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ
ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า
ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ซึ่งในปัจจุบัน ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
ลิขสิทธิ์
หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใด ๆ
เกี่ยวกับงานที่ตนได้ทำขึ้น อันได้แก่ สิทธิที่จะทำซ้ำ ดัดแปลง หรือนำออกโฆษณา
ไม่ว่าในรูปลักษณะอย่างใดหรือวิธีใด
รวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปทำเช่นว่านั้นด้วย
ระบบลิขสิทธิ์ของประเทศไทย
การคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย
จะกำหนดให้มีอายุการคุ้มครอง 50 ปี นับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์ผลงานเสียชีวิต กรณี
เจ้าของ เป็น นิติบุคคล จะเริ่มนับอายุ ตั้งแต่ ผลงานถูกสร้างขึ้นมานับไปอีก 50 ปี
หรือ เริ่มนับเมื่อมีการโฆษณาเป็นครั้งแรก แล้วแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดทีหลัง
แต่การโฆษณาครั้งแรกนั้นจะต้องเกิดขึ้นภายใน 50 ปี
นับตั้งแต่มีการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นมา ถ้าพ้น 50 ปีไปแล้ว
โดยที่ยังไม่ได้มีการโฆษณา ถือว่าลิขสิทธิ์หมดอายุ โดยที่การโฆษณาในภายหลัง
จะไม่มีผลต่อการนับต่ออายุลิขสิทธิ์อีก การโฆษณานี้จะต้องเป็นการโฆษณาโดยความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย
จึงจะนับเป็นการโฆษณาครั้งแรก ที่ให้เริ่มนับอายุลิขสิทธิ์ได้
ตาม
พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ของประเทศไทย จะมีข้อยกเว้นในงานบางประเภท
ที่จะมีอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ต่างออกไป ได้แก่ ศิลปประยุกต์ จะมีอายุคุ้มครองเพียง
25 ปี งานบางชนิดที่สร้างสรรค์โดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ก็จะมีข้อยกเว้นให้เริ่มนับอายุเช่นเดียวกับ กรณีนิติบุคคล คือ
เริ่มนับตั้งแต่ได้มีการสร้างงานขึ้น หรือ ตั้งแต่โฆษณาครั้งแรก
(แทนที่จะนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต) งานเหล่านั้น ได้แก่ ภาพถ่าย
โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานแพร่เสียงแพร่ภาพ
งานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้างหรือตามคำสั่ง รวมถึง ศิลปประยุกต์
งานที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝงหรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์
และ ไม่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ก็ให้เริ่มนับอายุลิขสิทธิ์ในลักษณะเดียวกับนิติบุคคล
สิทธิบัตร
(patent) หมายถึง
หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ
เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
ประเภทของสิทธิบัตร
รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม
พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ
ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป , กลไกของเครื่องยนต์,
ยารักษาโรค เป็นต้น หรือการคิดค้นกรรมวิธีในการผลิตสิ่งของ เช่น
วิธีการในการผลิตสินค้า, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็วเกินไป
เป็นต้น
2.
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน
ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
3.
อนุสิทธิบัตร ( Petty
patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์
แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร
เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
อายุสิทธิบัตร
-
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี
นับจากวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร
-
สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุ 10
ปีนับจากวันของรับยื่นสิทธิบัตร
เครื่องหมายการค้า
หรือ ยี่ห้อ ใช้สัญลักษณ์สากลคือ ™ หรือ ® หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
โดยสัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ
หรืออย่างส่วนร่วมกัน
สัญลักษณ์
หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง
หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน
ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน
อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ
หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร
อาจจะเป็น รูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง
ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา
แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า
ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด
และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้น ภาษามือ
จึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน
แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/185717
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น