วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 สัญญาแลกเปลี่ยน

บทที่ 6  สัญญาแลกเปลี่ยน
สัญญาแลกเปลี่ยน
             ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเห็นได้ว่า สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาทำนองเดียวกันกับสัญญาซื้อขาย โดยมุ่งหมายให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินเป็นการชำระหนี้ตอบแทน แต่ผิดสัญญาซื้อขายในข้อที่ว่า สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์แลกกับทรัพย์ไม่ใช่กับตัวเงิน ซึ่งมาตรา518 บัญญัติว่า อันว่าจะแลกเปลี่ยนนั้น คือ สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่วทรัพย์สินให้กันและกัน

ลักษณะของสัญญาแลกเปลี่ยน
             สัญญาแลกเปลี่ยนมีลักษณะเป็นสัญญาที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งดังที่มาตรา 418 บัญญัติไว้ว่า อันว่าแลกเปลี่ยนนั้นคือสัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันละกันดังนั้น สัญญาแลกเปลี่ยนจึงมีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ
             1.  เป็นสัญญาต่างตอบแทน
             การเป็นสัญญาต่างตอบแทน เป็นลักษณะสำคัญประการแรกของสัญญาแลกเปลี่ยนก็คือ การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้ลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
             2.  เป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยความยินยอม
             สำหรับสัญญาแลกเปลี่ยนนั้นยังเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ด้วยความยินยอม กล่าวคือ ทันทีที่ตกลงทำสัญญาหรือมีคำเสนอสนองต้องตรงกันสัญญาก็สมบูรณ์และมีผลได้โดยไม่มีความจำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญากันก่อน
ดังนั้น สัญญาแลกเปลี่ยนในปัจจุบันตามกฎหมายไทยจึงมิใช่ ทรัพยสัญญาที่ความสมบูรณ์ของสัญญาหรือหนี้ตามสัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อได้มีการส่งมอบทรัพย์เหมือนสมัยก่อน
             3.  เป็นสัญญาที่มีผลทางทรัพย์
             การที่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดผลในทางทรัพย์ก็เพราะสัญญาแลกเปลี่ยนก่อให้เกิดผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทันทีที่ทำสัญญา โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่งไป แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือต่างฝ่ายจะยังมิได้ส่งมอบทรัพย์สินที่จะแลกเปลี่ยนให้แก่กันก็ตาม
             4.  เป็นสัญญาที่กฎหมายให้บังคับตามหลักเกณฑ์ในเรื่องซื้อขาย
             มาตรา 519 บัญญัติว่า บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายนั้น ท่านให้ใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วย โดยให้ถือว่าเป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นคู่ขายในส่วนทรัพย์สอนซึ่งตนได้ส่งมอบ และเป็นผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น
             เนื่องจากสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับสัญญาซื้อขาย มาตรา 519 นี้จึงกำหนดให้ใช้บทบัญญัติในเรื่องซื้อขายกับสัญญาแลกเปลี่ยนด้วย แต่ด้วยความแตกต่างประการสำคัญของสัญญาซื้อขายและสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่การตอบแทนทรัพย์สินที่ได้รับในสัญญาแลกเปลี่ยนนั้นมิใช่ เงินหรือ ราคาทรัพย์สิน แต่เป็น ทรัพย์สินอย่างอื่น จึงทำให้มาตรา 519 ต้องบัญญัติต่อไปให้คู่สัญญาแลกเปลี่ยนแต่ละฝ่ายอยู่ในฐานะเดียวกับผู้ขายหรือผู้ซื้อขึ้นอยู่กับว่าในทรัพย์สินใด คู่สัญญาฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งมอบและฝ่ายใดเป็นฝ่ายรับมอบ

แหล่งที่มา :  http://rentproperty.myreadyweb.com/article/topic-21928.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่ 14

แบบฝึกหัดบทที่ 14  เรื่องกฎหมายโรงงาน และการจัดตั้งโรงงาน 1. โรงงานคืออะไร     ก . อาคาร สถานที่หรือยานพาหนะ     ข. ใช้เครื่องจัก...